พมส. ลงพื้นที่ ทม.พนัสนิคม และ ทต.แพรกษา ชูห่วงโซ่ที่เชื่อมโยงของความรู้ และการปฎิบัติการ เชื่อมโยงระหว่างการบริการวิชาการทางสังคม การวิจัย

“หลักสูตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.)” ลงพื้นที่เทศบาลเมืองพนัสนิคม และเทศบาลตำบลแพรกษา ชูห่วงโซ่ที่เชื่อมโยงของความรู้ และการปฎิบัติการ เชื่อมโยงระหว่างการบริการวิชาการทางสังคม การวิจัย

“หลักสูตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.)” ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยและพัฒนาโดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาพื้นที่  (บพท.) ขับเคลื่อนโดย มูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ซึ่งร่วมกับภาคีเครือข่าย 5 สถาบันการศึกษา 2 องค์กรภาครัฐ และ 2 หน่วยเอกชน ประสานความร่วมมือ ผ่าน มูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และศูนย์ปฎิบัติการและส่งเสริมเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ ชูห่วงโซ่ที่เชื่อมโยงของความรู้ และการปฎิบัติการ เชื่อมโยงระหว่างการบริการวิชาการทางสังคม การวิจัย การผลิตบัณฑิต รวมถึงการบริหารจัดการ ให้เป็นหนึ่งเดียว ในยุคที่มักจะได้ยินคำว่า พลิกโฉม หรือ Transformation

วันที่ 15 มิถุนายน 2566 หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) นำโดย รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ (ฝ่าย 3) พร้อมด้วยนักวิจัยคณะทำงานหลักสูตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) โดย ดร. ฌาน เรืองธรรมสิงห์ ที่ปรึกษามูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และนักวิจัยในโครงการการยกระดับการพัฒนาท้องถิ่นด้วยกลไกความรู้และความร่วมมือระดับประเทศ และคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยบูรพา นำโดย ดร. ภาณุวัฒน์ ด่านกลาง รองคณบดีฝ่ายวิชาการ อ.ดร ศศิรมย์ พานทอง อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์   (ร่วมผ่าน zoom) และ ผศ.ดร.พัชรินทร์ พูลทวี อาจารย์ประจำคณะพยาบาล ได้เข้าพบผู้บริหารและบุคลากรเทศบาลเมืองพนัสนิคม และเทศบาลตำบลแพรกษา เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการยกระดับการพัฒนาพนัสนิคม ด้วยข้อมูล ความรู้ และความร่วมมือระดับประเทศ

สำหรับเทศบาลเมืองพนัสนิคม นำโดย หัวหน้าโครงการ นายวิจัย อัมราลิขิต นายกเทศมนตรี และคณะทำงาน ได้ร่วมให้ข้อมูล ในฐานะนักพัฒนา ลงมือปฎิบัติการ ว่า “ว่า เทศบาลเมืองพนัสนิคม ต้องการระบบการจัดเก็บข้อมูลที่ทันสมัย ครอบคุลม เพื่อการวางแผนและแก้ปัญหาด้านสุขภาพให้กับประชาชนเพิ่มมากขึ้น และตรงประเด็น โดยปัจจุบันทําในลักษณะการจัดเก็บ ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพของประชาชน มีข้อมูลเป็นรายบุคคล แยกกลุ่มหมวดหมู่ตามการเจ็บป่วยของประชาชนที่อยู่ในกลุ่มเปราะบาง มีการประมวลผลข้อมูล การจัดเก็บรายละเอียดเกี่ยวกับการรัษา การนัดหมาย กําหนดการ ตรวจเยี่ยมตามระยะเวลา มีแผนที่ พิกัดของกลุ่มเปราะบางท่ีป่วยในภาวะต่างๆ ตลอดจนถึงมีระบบการติดตาม แจ้งเตือนในกลุ่มเปราะบางซึ่งเป็นผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ โดยให้มีการติดอุปกรณ์ที่บ้านเพิ่มมากขึ้นให้ครอบคลุมกลุ่มผู้ป่วยเปราะบาง ซึ่งผู้ป่วยสามารถแจ้งเตือนหากเกิดปัญหา หรือมีการผิดปกติเมื่อเกิดการเคลื่อนไหวที่ผิดไปจากวิสัยปกติ และอุปกรณ์ติดตัวผู้ป่วยนั้นสามารถตรวจเช็คการเต้นของหัวใจ ความดัน ท่าทางที่ปอด ซึ่งเมื่อมีปัญหาจะมีการแจ้งเตือนไปยังศูนย์ช่วยเหลือรับแจ้งเหตุ ซึ่งมีอาสาสมัคร เจ้าหน้าที่ที่ประจําศูนย์รับ แจ้งเหตุตลอด 24 ชั่วโมง จึงมองว่าเรามีฐานข้อมูลเดิมอยู่แล้ว หากสามารถทำให้เป็นฐานข้อมูลเป็นฐานกลาง ผ่าน application ที่ทุกคนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ และให้บริการเบื้องต้นได้ คือ มีการนำทรัพยากร มาร่วมกันพัฒนาต่อนั่นเอง

ด้าน รศ.ดร.กล่าวต่ออีกว่า การติดตามความก้าวหน้าและออกแบบเป้าประสงค์ร่วมกัน ที่มีผู้บริหารเห็นด้วย พร้อมสนับสนุนงบประมาณ และนโยบาย ย่อมทำให้ทุกอย่างสำเร็จอย่างง่ายดายแล้วยิ่งเทศบาลเมืองพนัสนิคม มีฐานข้อมูลเดิมแบบนี้อยู่แล้ว ถ้านำ 2 ส่วนมาปั๊กอิน เสริมหนุนกันได้ จะดีมาก เป็นความพร้อม และสามารถแก้ปัญหาความต้องการยกระดับการพัฒนาด้วยข้อมูลความรู้ ระดับพื้นที่ได้ชัดเจน

ช่วงบ่ายของวันเดียวกัน ต่อเนื่องที่เทศบาลตำบลแพรกษา เพื่อติดตามความก้าวหน้า ส่งเสริม และสนับสนุนการดำเนินโครงการวิจัยของเทศบาล ที่มุ่งพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมืองเพื่อจัดการระบบสุขภาพอัจฉริยะ เพื่อยกระดับการพัฒนาท้องถิ่นด้วยกลไกความรู้และความร่วมมือระดับประเทศ เช่นกันโดยภายหลังจากการทำความเข้าใจร่วมเชิงวิชาการ และเทคโนโลยี ทำให้ทราบว่าเทศบาลแพรกษา มีฐานข้อมูลด้านสุขภาพและสวัสดิการของประชาชนในพื้นที่ที่ครอบคลุมทุกกลุ่ม การนำเข้า และเชื่อมต่อข้อมูลในแพลตฟอร์มเพื่อเติมเต็ม ต่อยอดให้เกิดให้ความเสมอภาคในการเข้าถึงการบริการ Smart Health และเพื่อนําไปสู่การมีสุขภาวะที่ดีของประชาชน เกิดการพัฒนาเมืองได้อย่างยั่งยืนโดยใช้ข้อมูล เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาเป็นเครื่องมือ จึงเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วน ทางเรามีทีมคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยบูรพา ที่จะเข้ามาร่วมเป็นโค้ชเชิงวิชาการ และ ARV โค้ชเชิงแพลตฟอร์มข้อมูลเมือง มาร่วมสนับสนุนงานการวิจัย ของเทศบาลตำบลแพรกษาด้วย

ซึ่งในระหว่างการพูดคุยหารือ รองนายกเทศมนตรีตำบลแพรกษา คุณพรเพ็ญ กลิ่นกำธรกุล ยังได้มาบอกเล่าเรื่องดีๆ ของดี คนดังที่เทศบาลตำบลแพรกษา มีชื่อด้วย อย่างล่าสุดกับผลการสอบ 0-NET นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมแพรกษาวิเทศศึกษา ได้คะแนนรายวิชา ภาษาอังกฤษ 100 คะแนนเต็ม และเด็กชั้นมัธยมศึกษาในพื้นที่ได้คะแนนรายวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ที่สูงมากๆด้วย

และที่นี่ยังมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลแพรกษา ที่เปิดรับสมัครตั้งแต่ 1 ขวบครึ่ง ซึ่งจะไม่เหมือนที่อื่นในประเทศไทย มีการพัฒนาทักษะด้านภาษา และกีฬา โดยเฉพาะว่ายน้ำ ที่ทั่วถึง และช่วงการศึกษาระหว่าง ปฐมศึกษา-มัธยมศึกษา จะมีนักโภชนาการ จัดเมนูพิเศษ Thai Food  Lunch ด้วย ยิ่งไปกว่านั้น หากเด็กในสังกัดเทศบาลเมืองแพรกษาใหม่ เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาต้นแล้ว สามารถได้รับทุนการศึกษา เรียนต่อที่สถาบันการศึกษาเพื่อสังคม อย่างวิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ และมีงานรองรับจากบริษัท ซีพี ออลล์ จํากัด (มหาชน)

เทศบาลเมืองพนัสนิคม

เทศบาลตำบลแพรกษา