บพท. หนุนภาคีขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้ (Active Learning) ปั้นผู้บริหารท้องถิ่นสู่นักพัฒนาเมืองมืออาชีพ กับหลักสูตร พมส.3

หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับ มูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  เปิดตัวหลักสูตร “นักพัฒนาเมืองระดับสูง รุ่น 3” เพื่อขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้ (Active Learning) ให้กับผู้นำทั่วประเทศ หวังปั้นผู้บริหารท้องถิ่นสู่นักพัฒนาเมืองมืออาชีพ ด้วยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมยกระดับ อบจ.สู่กลไกการเติบโตใหม่ให้กับประเทศไทยอย่างยั่งยืน”      

หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และองค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผนึกกำลังเปิดตัว “หลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง 3 (พมส.3)” เมื่อระหว่างวันที่ 22 -23 มิถุนายน 2566 ที่ห้องประชุมชั้น 2 โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ จ.พระนครศรีอยุธยา  โดยมีผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐ วิสาหกิจ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรธุรกิจเอกชน หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 200 คน เข้าร่วมกิจกรรมปฎิบัติการบนฐานงานวิจัย เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงและยกระดับการพัฒนาท้องถิ่นด้วยข้อมูล ความรู้ และความร่วมมือระดับประเทศ ภายใต้หลักสูตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) รุ่น 3 

โดยได้รับเกียรติจาก นางสมทรง พันธ์เจริญวรกุล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวต้อนรับ นักพัฒนาเมืองระดับสูง รุ่น 3 ที่จะถูกพัฒนาต่อยอดเป็นนักพัฒนาเมืองมรดกโลกอยุธยาสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (Ayuthaya Smart Heritage) ต่อไป ในฐานะเจ้าบ้าน โดยได้เกริ่นถึงความร่วมมือระหว่าง หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และองค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ครั้งนี้ พร้อมเน้นย้ำถึงการยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถของทุกคนให้เกิดความเข้าใจ ความตระหนักร่วม และพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ เพื่อพัฒนาบุคลากรหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ให้เป็นบุคลากรที่มีความเป็นอาชีพในด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ อีกทั้งสามารถจัดทำโครงการ หรือกิจกรรมรับรองแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะให้สอดรับกับประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนจังหวัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดการบูรณาการร่วมระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนสังคม ในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะแต่ละด้านให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย 

          จากนั้นนายนิวัฒน์ รุ่งสาคร ผู้ว่าราชการพระนครศรีอยุธยา ยังได้ให้เกียรติมากล่าวเปิดงาน พร้อมกล่าวต้อนรับ คณะวิทยากร และคณะนักศึกษาหลักสูตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง พมส.รุ่นที่ 3 อันมีใจความโดยสังเขปดังนี้ “เมื่อเรามีวิทยากรที่มีความรู้ มีความเชี่ยวชาญโดยตรงกับเรื่องของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ และด้วยจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีเป้าหมายที่ได้วางไว้ ภายใต้แนวคิด อยุธยานั้นเป็นเมืองมรดกโลก เป็นแหล่งท่องเที่ยว เป็นเมืองแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ เป็นเมืองที่น่าอยู่ น่าเรียนรู้และก็น่าลงทุน ซึ่งเป็นเป้าหมายที่วางกรอบใหญ่ๆไว้ จึงถือเป็นเรื่องที่ดีมากในการอบรมเพื่อพัฒนาเมืองมรดกโลกอยุธยาสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดครั้งนี้ เพราะไม่เพียงแต่สอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาท้องถิ่นของเรา แล้วยังสอดรับกับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจใหม่ด้วย

ด้าน รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ ผู้อำนวยการฝ่ายสนับสนุนทุนการวิจัย และนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ได้กล่าวถึงที่มาและบทบาท บพท. ที่ได้สนับสนุนให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นได้ดำเนินการพัฒนาท้องถิ่น ความรู้ และความร่วมมือระดับประเทศ พร้อมเล่าถึงที่มาของโครงการยกระดับพระนครศรีอยุธยา ด้านการพัฒนาระดับท้องที่ทำให้ท้องถิ่น สามารถดำเนินงานด้วยข้อมูล ความรู้ ความร่วมมือระดับประเทศ ได้โดยการร่วมมือจากทางมหาวิทยาลัยต่างๆ ภาครัฐ และเอกชน พร้อมเชื่อมโยงให้เห็นความสำคัญของการขับเคลื่อนในทุกภาคส่วนทำให้อยุธยาเป็นเมืองมรดกโลก ที่มีความชาญฉลาด น่าอยู่ และกลายเป็น “เมืองมรดกโลกที่ชาญฉลาด” ได้อย่างไร เพราะนี่คือความคาดหวังในการอบรมตลอด 2 วันนี้

พร้อมชี้ให้เห็นประเด็นเรื่องความเหลื่อมล้ำ การกระจุกตัวของความเสมอภาค เพื่อเพิ่มโอกาสด้านการศึกษา สุขอนามัย ให้กับทุกคนด้วยการ “แก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จ” และเพื่อให้ทุกคนเข้าถึงและเสมอภาคกัน ไม่ส่งต่อความยากจนข้ามรุ่น ทำให้เกิดความแข็งแกร่งในฐานราก รู้ว่าท้องถิ่นมีจุดเด่นในด้านใด การทำให้เมืองเป็นศูนย์กลางความเจริญได้ด้วยกลไกที่สำคัญที่สุด คือให้ “ความสำคัญกับการประสานความร่วมมือข้อมูลและนวัตกรรม” และรวมไปถึงความสำคัญขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น กลไก คือเจ้าของพื้นที่จะเข้าถึง พื้นที่นั้นๆได้ดี เกิดจากความรับผิดชอบในคุณภาพชีวิตของพลเมืองและในฐานะพลเมืองที่เกิดขึ้นในพื้นที่นั้นๆ  และการลดความเหลื่อมล้ำความยากจน พร้อมปิดท้ายด้วยว่า “นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยได้มาเป็นนักพัฒนาใช้ความรู้ ใช้ข้อมูลสร้างการเปลี่ยนแปลง”  เมืองชาญฉลาดที่น่าอยู่เกิดจากคนพูดคุยกัน ประสานความร่วมมือนำไปสู่ความรักที่มีต่อพื้นที่ “Smart People” ไม่ปล่อยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำอยู่ฝ่ายเดียว

จากนั้นเป็นการบรรยายพิเศษ โดย อ.สุรเดช ทวีแสงสกุลไทย ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง (เคเคทีที) จำกัด ในหัวข้อ “ขอนแก่นเมืองอัจฉริยะน่าอยู่” โดยได้กล่าวถึง การเพิ่มการลงทุนในภูมิภาค ว่าต้องทำอย่างไรให้เกิดการพัฒนาแบบองค์รวม มองเรื่องของคนเป็นเรื่องที่สำคัญ พร้อมชูคำสำคัญ ว่ามีแต่คนบ้าเท่านั้นที่ทำแต่สิ่งเดิม ๆแล้วหวังผลลัพธ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยได้ยกตัวอย่างการสร้างบริษัทขอนแก่นพัฒนาเมือง ว่าต้องสร้างจากโครงสร้าง และเป็นโครงสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืน สำหรับเมืองขอนแก่นนั้น ปัญหาแรกคือการเขียนแผนสมาร์ทซิตี้ แต่ไม่มีงบประมาณในการดำเนินงาน เราต้องทำการหางบประมาณเองโดยไม่ต้องพึ่งพาจากรัฐบาล มีการตั้งกองทุนผู้มีรายได้น้อยขอนแก่น เพื่อมีสิทธิ์เป็นผู้ถือหุ้น KKTS โดยเงินของผู้มีรายได้น้อยจะสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆจากการลงทุนกลายเป็นเงินที่มีมากขึ้น ดั่งจะเห็นได้ชัดจากคำว่า “แก้จนลดความเหลื่อมล้ำ ด้วย KKTS”  Research from Bank of Thailand” ขยายให้เกิดนวัตกรรมสวัสดิการเพิ่มขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำเรื่องคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและการศึกษาที่ดีขึ้น และการหางบประมาณในการดำเนินงาน เช่น ระดมทุนจากดิจิทัลและการเข้าตลาดหลักทรัพย์ SET SPAC Smart city เริ่มต้นด้วยทุนมนุษย์ และอย่างกิจกรรมในวันนี้การที่ อบจ. เริ่มมีการจัดอบรมโดยความความร่วมมือทางสังคม เพื่อเกิดการแลกเปลี่ยนพูดคุยกัน จึงถือเป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะถ้าไม่มีความร่วมมือก็ทำไม่ได้ ซึ่งจังหวัดขอนแก่น ในอีก 17 ปี จะเกิดการพัฒนาเมืองอย่างมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน การที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เรียกผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลายฝ่ายมาคุยกัน ทำให้เห็น vision ที่เห็นตรงกันช่วยกันคิดช่วยกันทำในครั้งนี้ การพัฒนาเมืองมรดกโลกอยุธยาสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดจึงอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม

ต่อด้วยหัวข้อ “การบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยาอัจฉริยะ” โดย คุณสัญญา แสงพุ่มพงษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยได้กล่าวถึงวัฏจักรน้ำในประเทศไทย ล้วนมาจากแหล่งเดียวคือ ฝน พร้อมเชื่อมโยงเหตุผลที่ต้องบริหารจัดการน้ำ เนื่องจากประชาชนอาจจะขาดจิตสำนึก ทำให้เกิดความละเลยจนเกิดปัญหาเกี่ยวกับน้ำ และเพื่อควบคุมน้ำ จึงต้องมีการบริหารจัดการ มีกฎหมาย มีคู่มือเพื่อควบคุมสิ่งต่างๆ อนึ่ง เสาหลักในการบริหารจัดการน้ำ คือ มองมิติรวม ไม่ได้มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องเรื่องน้ำโดยตรง 1.องค์กรด้านน้ำ  2.กฎหมาย  3.ยุทธศาสตร์  4.เทคโนโลยี นวัตกรรม และการจัดการน้ำตามศาสตร์พระราชา “ดัดแปลงธรรมชาติ ให้เข้ากับชีวิตมนุษย์” ต้นน้ำ ทำหน้าที่กักเก็บน้ำ กลางน้ำ ทำหน้าที่กระจายน้ำไปในพื้นที่เกษตร ปลายน้ำ ทำหน้าที่เร่งระบายน้ำ พื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ เสี่ยงได้รับผลกระทบมาก จากแม่น้ำออกไปถึงตัวถนนมีโอกาสที่จะน้ำท่วมสูงผู้คนในพื้นที่ต้องทำความเข้าใจกันระหว่างคนนอกคันกั้นน้ำ กับคนในคันกั้นน้ำ จะได้เกิดความเข้าใจกัน ในด้านการสื่อสารอาจจะยากไปในทางวิทยาศาสตร์จะเห็นได้ชัดเจน หากเขื่อนเจ้าพระยาระบายน้ำเกิดน้ำท่วมในพื้นที่ ทางผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจะทำการดูแลและ support ชาวบ้านอย่างไรให้มีความทุกข์ที่น้อยที่สุดทั้งในด้านการใช้ชีวิตและการดูแลความปลอดภัยของทรัพย์สิน การบริหารจัดการน้ำเพื่อป้องกันอุทกภัยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  Smart living รู้จักการจัดการน้ำว่าจะอยู่อย่างไรเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

และ “การจัดการสิ่งแวดล้อมและระบบบริหารการจัดการขยะให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน” โดย ผศ ดร.สมศักดิ์ พิทักษานุรัตน์ อดีตคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ และวิศวกรที่ปรึกษา ศูนย์บริการเทคโนโลยีสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้กล่าวถึงการวัดประสิทธิภาพระบบบริหารการจัดการขยะ ว่าสามารถลดขยะต้นทางได้หรือไม่ มีขยะตกค้างหรือไม่ ปลายทางกำจัดขยะอย่างไร  ระบบจัดการขยะต้องต้องครอบคลุม  ตั้งแต่การเก็บขยะ กำจัดขยะและคัดแยกขยะ รู้ว่าในพื้นที่นั้นแหล่งขยะมาจากที่ใดบ้าง มีขยะประเภทใด อบจ.จะเก็บขยะอันตราย 3% การจัดการขยะชุมชนคัดแยกขยะตามแหล่งกำเนิด พร้อมชี้ให้เห็นว่า ทุกเทศบาลกว่า 99% มีธนาคารขยะแต่ทำไมทำได้แค่ชุมชนเดียว ไม่มีการขยายผลหรือมีปัจจัยต่างๆ รวมไปถึงมีเรื่องผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องเลยทำให้เกิดการดำเนินงานที่ไม่ยั่งยืน และระบบกำจัดขยะมูลฝอยขั้นสุดท้ายที่นิยม 1. หมักทำปุ๋ยปัญหาทฤษฎีทำได้แต่ปฏิบัติทำไม่ได้บำรุงดิน แต่ให้ผลช้า  2. ระบบเผาในเตาเผา มีน้อยมากที่เกิดขึ้นได้ และ 3.วิธีที่นิยมที่สุด ระบบฟังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล

หัวข้อ “Smart Health การจัดการสุขภาวะอัจฉริยะ” โดย ผศ.ดร.พัชรินทร์ พูลทวี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวถึง ระบบการดูแล KIN YOO-DEE platform ในการดูแลบุคคล ผู้ใช้งานเมื่อ Download app mobile ทำการกรอกข้อมูลพื้นฐานต่างๆของผู้ใช้งานและระบบจะเชื่อมต่อกับนาฬิกา ผลสุขภาพจะถูกส่งไปสรุปผลรายงานให้กับเจ้าตัว ครอบครัว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ แนวคิดทำให้คนที่อยู่ในระบบมีคุณภาพชีวิตที่ดีเหมือนมีแพทย์ประจำตัวอยู่ด้วยตลอดเวลาซึ่งเป็นแนวคิดสำคัญในการออกแบบระบบ หมอออนไลน์ พยาบาลออนไลน์ให้คำปรึกษาตลอดเวลาเป็นแนวคิด ในการออกแบบระบบดูแลผู้สูงอายุ โดยในประเด็นที่สำคัญในระบบ มีระบบ GIS สามารถปักหมุดให้รถพยาบาลออกไปรับได้ในกรณีฉุกเฉิน

          ปิดท้ายกิจกรรมปฎิบัติการบนฐานงานวิจัย เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงและยกระดับการพัฒนาท้องถิ่นด้วยข้อมูล ความรู้ และความร่วมมือระดับประเทศ ภายใต้หลักสูตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) รุ่น 3 ของวันที่ 22 มิถุนายน 2566 ในหัวข้อ Digital Transformation โดย ดร.ฌาน เรืองธรรมสิงห์ นักวิจัยประจำศูนย์ปฏิบัติการเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ได้เล่าถึงการเปลี่ยนแปลง Global Megatrends ว่าเป็นสิ่งที่ทำให้โลกขยับ รวมถึง 4 กลุ่มแนวโน้มของโลก ที่ในปัจจุบันมีการพัฒนาทางเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยปัจจุบันนี้ถือว่าโทรศัพท์มือถือ เป็นอวัยวะที่ 33 และถือเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญ ที่เทคโนโลยีนั้นพัฒนาไปอย่างก้าวกะโดด เพราะเริ่มจากการที่ไม่มีเทคโนโลยีอะไรเลยในอดีต และยังได้กล่าวถึงกฎของมัวร์ ว่า จำนวนทรานซิสเตอร์ที่สามารถบรรจุลงในชิพและเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในทุก 2 ปี รวมถึงตัวอย่างทั่วไปของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิตอลในภาครัฐ ยกตัวอย่างเช่น การบริการตนเองของประชาชน การจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ และแพลตฟอร์มเปิดเผยข้อมูล เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจและสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ได้

สำหรับกิจกรรมในวันที่สอง คือ 23 มิถุนายน 2566 เริ่มต้นด้วยการบรรยายในหัวข้อ “เมืองแห่งอนาคต: เมืองอัจฉริยะ” โดย ดร.นน อัครประเสริฐกุล ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส ฝ่ายส่งเสริมเมืองอัจฉริยะสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตอล ซึ่งได้เล่าถึง สมาร์ทซิตี้ เมืองอัจฉริยะที่ดูไบ อันมีสาระโดยสังเขปคือ ส่วนมากประชากรในดูไบ เป็นลักษณะประชากรแฝงในเมือง เป็นคนอพยพ และมีประชากรดูไบ เพียง 20% ที่สามารถเข้าถึงความสะดวกสบายที่เห็นในเมืองได้จริง ดังนั้น “Smart city ที่ดีควรให้โอกาสทุกคนเข้าถึงความสะดวกสบาย และคำนึงถึงความเป็นส่วนตัว” แต่ถ้าเปรียบเทียบดูไบกับเวียนนา ประเทศออสเตรีย ที่เป็นเมืองที่ “เทคโนโลยีทำงานแทนคน ส่งผลให้คนมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น” แต่ทว่าที่นี่ไม่มีการบินโดรน แต่สามารถเห็นภาพรวมของเมืองได้ชัดเจน แต่มีกล้องวงจรปิดทั้งเมือง มีการออกแบบเมืองทีละส่วน จนทำให้เห็นข้อดีข้อเสียจากเมืองส่วนแรกที่พัฒนาแล้ว ทำให้รู้ว่าต้องพัฒนาไปในแนวทางใดต่อ อนึ่ง ยังได้มีการสร้างความตระหนักรู้ว่าเมืองเป็นที่มาที่ไปของการสร้างสิ่งใหม่ และอนาคตคาดการณ์ว่าคนส่วนใหญ่จะอยู่ในเมืองมากกว่าชนบท เพราะเมืองเติบโตจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม และเมืองยังสามารถสร้างขยะ การจราจรที่ติดขัดได้ด้วย พร้อมเชื่อมโยงเรื่องราวถึงการบินโดรนในปัจจุบัน ว่าควรมีกรอบการใช้งานให้มีความเป็นส่วนตัวและปลอดภัยต่อประชาชน ซึ่งโดรนแสดงถึงความเป็นอนาคตของเมือง แต่ยังเป็นเรื่องไกลตัวของเมืองอัจฉริยะ

จากนั้นทางหลักสูตร พมส. 3 ได้กำหนดกิจกรรมออกมาในลักษณปฏิบัติการร่วมระดมและแลกเปลี่ยนความคิดในการออกแบบเมืองใน 7 มิติ ภายใต้ตรีม “Design Thinking and Moving Forward Ayuthaya Smart Heritage” โดยได้มีการแบ่งกลุ่ม ปฏิบัติการร่วมมออกแบบเมือง Ayuthaya Smart Heritage ตามประเด็น ดังนี้ 1). มิติด้านการจัดการพลังงานทีดี (Smart Energy) 2). มิติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี (Smart Environment) 3). มิติด้านการจัดการระบบการชนส่งคมนาคมที่ดี (Smart Mobility) 4). มิติด้านการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ (Smart Economy) 5). มิติด้านการพัฒนาทักษะความรู้ตลอดจนการมีส่วนรว่ มของพลเมือง (Smart People) 6). มิติด้านความสะดวกสบายและปลอดภัย (Smart Living) และ 7). มิติด้านการบริหารจัดการเมืองที่ดี (Smart Governance) โดยมี ผศ.ดร.มณิษวาส จินตพิทักษ์ วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้เกียรติเป็นวิทยากรกลุ่ม นำพาปฏิบัติกระบวนการคิดเชิงออกแบบ จำนวน 6 ขั้นตอน ว่าขั้นตอนไหนไม่ดีสามารถย้อนกลับไปทำใหม่ได้อย่างไร และกระบวนการ ขั้นตอนการคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดแนวความคิดใหม่ๆ จนนำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้อีกทั้งสามารถใช้กฎ 3 ป. เป็นตัวช่วยในการเปลี่ยนแปลง mind set ประกอบไปด้วย เปิดใจ ปริมาณ แปลก สำหรับในช่วงสุดท้ายที่มีการปฏิบัติการร่วมออกแบบบเมือง Ayuthaya Smart Heritage ได้กำหนดให้ผู้เข้าอบรม พมส. 3 ทุกคนใช้ post-it เพื่อแบ่งปันความคิดและประสบการณ์ที่มีต่อแต่ละมิติในการออกแบบเมือง เพื่อสร้างการมีส่วนช่วยในการพัฒนาเมืองมรดกโลกอยุธยาสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (Ayuthaya Smart Heritage) อนึ่งสามารถสรุปประเด็น ได้ดังนี้

1.มิติด้านจัดการพลังงานที่ดี (Smart Energy)

  • ทำอย่างไรที่จะอยู่ที่ไหนก็มีพลังงานสะอาดให้ใช้ได้ไม่มีหมด
  • ทำอย่างไรจะลดปริมาณขยะพลาสติก เช่น ถุงพลาสติกในครัวเรือนได้
  • ลดขยะ ลดค่า P.M. 2.5
  • มีการโซลาร์เซลล์จากพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อลดค่าใช้จ่าย
  • ขอให้มีการจัดสรรงบประมาณในการบริหารจัดการขยะ เนื่องจากมีขยะในพื้นที่มากในปัจจุบัน

2.ด้านมิติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี (Smart Environment)

  • แผงโซลาร์เซลล์มีราคาแพงเกินไป
  • ทำอย่างไรให้ฟางข้าวหายไปโดยไม่เผา
  • รณรงค์ให้มีการใช้วัสดุรีไซเคิลให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อลดขยะ
  • ทำอย่างไรให้ จ.พระนครศรีอยุธยา มีสวนสาธารณะเพิ่มขึ้น
  • ทำอย่างไรให้ปัญหามลพิษใน จ.พระนครศรีอยุธยา น้อยลง

3.ด้านมิติการจัดการระบบการขนส่งคมนาคมที่ดี (Smart Mobility)

  • ระบบขนส่งมวลชนควรนำพลังงานสะอาดมาใช้
  • อยากได้รถไฟฟ้ามาวิ่งบนท้องถนนมากขึ้น และรุ่นลูกรุ่นหลานได้ใช้รถไฟฟ้าอย่างแพร่หลาย
  • ทำอย่างไรให้ จ.พระนครศรีอยุธยา รถไม่ติดทั้งช่วงเช้า และเวลาเร่งด่วน
  • ทำอย่างไรให้สัญญาณไฟจราจรมีตัวเลขทุกที่
  • ทำอย่างไรให้ระบบขนส่งมีความสะดวกสบาย

4.มิติด้านการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ (Smart Economy)

  • อยากให้มีการจ้างงานผู้สูงอายุของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • เพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่น
  • ทำอย่างไรให้ข้าวเปลือกราคาสูงขึ้นแต่มีต้นทุนในการผลิตที่ต่ำ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร
  • จะนำอะไรมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นของจังหวัดได้อีกนอกจากโรตีสายไหม
  • ทำไมค่าไฟแพง อยากได้รับการช่วยเหลือจากผู้มีอำนาจและผู้มีความรับผิดชอบโดยตรง

5.มิติด้านการพัฒนาทักษะความรู้ตลอดจนการมีส่วนร่วมของพลเมือง (Smart People)

  • อยากให้มีจุดจอดรถนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น รถมาตรงเวลา
  • ทำอย่างไรให้ประชาชนเข้าใจ Smart City
  • ทำอย่างไรให้ประชาชนเข้าถึงเทคโนโลยีมากที่สุด
  • ทำอย่างไรผู้คนจึงสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อมีส่วนร่วม เพราะบางคนใช้เทคโนโลยีไม่ได้
  • ทำอย่างไรให้ประชาชนรวมกลุ่มสร้างภูมิปัญญาท้องถิ่น

6.มิติด้านความสะดวกสบายและปลอดภัย (Smart Living)

  • ทำไมต้องซื้อ ATK ราคาสูงถึง 600 บาท อยากให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามาดูแล
  • Smart living ทำอย่างไรการดำรงชีวิตอัจฉริยะจะดีขึ้นทุกชุมชน
  • ทำอย่างไรยาเสพติดจะไม่มีในประเทศ คุณภาพของชีวิตลูกหลานจะดีขึ้น
  • ทำอย่างไรให้มีสนามบินในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • คน จ.พระนครศรีอยุธยา ตายด้วยโรคมะเร็งและโรคหัวใจสูงมาก จะแก้ไขปัญหาอย่าง

7.มิติด้านการบริหารจัดการเมืองที่ดี (Smart Governance)

  • ทำอย่างไรให้คนสติไม่ดี ขอทานหายไป
  • ทำอย่างไรให้ยาเสพติดหายไป
  • การสร้างความเท่าเทียมกันของบุคคล
  • ทำอย่างไรให้มีการจัดประชุม อบรมให้ความรู้ด้านต่างๆมากขึ้น
  • ปรับปรุงเรื่องของการรับเงินเบี้ยยังชีพให้คนสูงอายุเข้าถึงได้ง่าย
  • ทำอย่างไรให้เมืองอยุธยาสะอาดน่ามอง
  • ทำอย่างไรผู้บริหารท้องถิ่นจะสามารถใช้ระบบสารสนเทศ สั่งการอนุมัติได้
  • ทำอย่างไรให้ระบบราชการมีความคล่องตัว