บพท. หนุนการสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้ ผ่านหลักสูตร พมส. ครั้งที่ 9

หลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) รุ่นที่ 1 หลักสูตรที่อิงอยู่บนฐานคิดประสบการณ์ของทุกคน ภายใต้ความร่วมมือระหว่างมูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กับสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และได้รับการสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ กรอบการวิจัยยกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเมือง ครั้งที่ 9 ชุดที่ 2 การสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) ขึ้นในวันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09.00 – 16.00 น. ณ สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย เพื่อขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้ (Active Learning) อย่างต่อเนื่อง

หลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) รุ่นที่ 1 หลักสูตรที่อิงอยู่บนฐานคิดประสบการณ์ของทุกคน ภายใต้ความร่วมมือระหว่างมูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กับสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และได้รับการสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ กรอบการวิจัยยกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเมือง ครั้งที่ 9 ชุดที่ 2 การสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) ขึ้นในวันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09.00 – 16.00 น. ณ สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย เพื่อขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้ (Active Learning) อย่างต่อเนื่อง

          สำหรับการอบรมครั้งนี้มีผู้เข้ารับการอบรม ซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหารท้องถิ่นและภาคีพัฒนาพื้นที่จากทั่วประเทศ จำนวนมากกว่า 100 คนที่เข้าร่วมทั้งในรูปแบบ Online และ Onsite โดยช่วงแรกของการอบรมนั้น เริ่มต้นด้วย “การเล่าถึงที่มาและความสำคัญของโปรแกรมการสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) ให้กับผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจ และสามารถสร้างให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม จับต้องได้จริงเพื่อตอบโจทย์ Learning City ซึ่งไม่ใช่เพียงสร้างการเรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อสร้างเมืองให้เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ แต่ทว่าต้องเป็นเมืองมีชีวิต เป็นเมืองเศรษฐกิจแห่งการเรียนรู้ และคนในพื้นที่นั้นเองต้องร่วมเรียนรู้และจัดการเองได้ด้วย” ส่วนหนึ่งของการบรรยายในหัวข้อ “เมืองแห่งการเรียนรู้: อิ่มท้อง อิ่มสมอง อิ่มใจ” โดย รศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม  รองผู้อำนวยการหน่วย บพท. ฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร

          จากนั้นเป็นการบรรยายในหัวข้อ “การสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO” โดย คุณโศวิรินทร์ ชวนประพันธ์ เจ้าหน้าที่โครงการ รักษาการหัวหน้าทีมการรู้หนังสือและการเรียนรู้ตลอดชีวิต แผนกนวัตกรรมการศึกษาและการพัฒนาทักษะ สำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ ประเทศไทย อันมีสาระโดยพอสังเขป ดังนี้

          “UNESCO Global Network of Learning Cities : เป็นเครือข่ายระดับนานาชาติที่มุ่งเน้นด้านนโยบายซึ่งให้แรงบันดาลใจ องค์ความรู้ และแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด เมืองแห่งการเรียนรู้ในทุกขั้นตอนของการพัฒนาจะได้รับประโยชน์อย่างมากจากการแบ่งปันแนวคิดกับเมืองอื่น ๆ เนื่องจากวิธีแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะที่เมืองแห่งการเรียนรู้แห่งหนึ่งพัฒนาอาจมีอยู่แล้วในเมืองอื่น ๆ เครือข่ายสนับสนุนความสำเร็จของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 17 ประการ (SDGs) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง SDG 4 และ SDG GNLC ของ UNESCO สนับสนุนและปรับปรุงการเรียนรู้ตลอดชีวิตในเมืองต่าง ๆ ของโลก โดยส่งเสริมการเจรจานโยบายและการเรียนรู้จากเพื่อนในกลุ่มเมืองต่าง ๆ ส่งเสริมความร่วมมือ จัดให้มีการพัฒนาขีดความสามารถ และพัฒนาเครื่องมือส่งเสริมและรับรู้ความก้าวหน้าในการสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้

          Situation of education: Where are we? : เด็กและเยาวชน 260 ล้านคนยังคงไม่สามารถเข้าถึงโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา, เยาวชนและผู้ใหญ่อย่างน้อย 771 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงที่ยังไม่สามารถอ่านและเขียนได้, มีเพียงผู้ใหญ่ส่วนน้อยเท่านั้น ที่มีทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารจำเป็นต้องประสบความสำเร็จในการนำทางความต้องการขั้นพื้นฐานของศตวรรษที่ 21, นักเรียนรุ่นนี้มีความเสี่ยงที่จะสูญเสียรายได้ตลอดชีพไป 17 ล้านล้านดอลลาร์ในมูลค่าปัจจุบัน หรือประมาณ 14 เปอร์เซ็นต์ของ GDP โลกในปัจจุบัน อันเป็นผลมาจากการปิดโรงเรียนที่เกี่ยวกับการระบาดของโรค COVID – 19

          Situation of education: Impact of COVID – 19: มีนักเรียน 6.7 ล้านคนในภูมิภาค (ระดับก่อนประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษา) มีความเสี่ยงที่จะออกจากโรงเรียน และประมาณการเพิ่มขึ้น 4% ในการออกจากโรงเรียนในภูมิภาค

          Transforming Education Summit (TES) ในภาพรวม: มีเป้าหมายเพื่อยกระดับการศึกษาให้เป็นวาระสำคัญทางการเมืองในระดับโลก และระดมกำลังดำเนินการ, ด้านความทะเยอทะยาน ความสามัคคี และการแก้ปัญหาเพื่อฟื้นฟูความสูญเสียจากการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับการระบาดใหญ่เป็นเมล็ดพันธุ์แห่งการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

          Thailand’s National Statement of Commitment (การประกาศความมุ่งมั่นของชาติไทย) : 1.) เส้นทางสู่การฟื้นฟูจากโควิด – 19; มุ่งเน้นไปที่ผู้ที่มีความเสี่ยงมากที่สุดที่จะไม่กลับมา หรือผู้ที่ไม่ได้เรียน รวมทั้งการเสริมสร้างความเข้มแข็งของโปรแกรมการเรียนรู้ทางเลือกและความเท่าเทียม, เตรียมความพร้อมสำหรับการศึกษาในอนาคตของเราสำหรับการปิดเพิ่มเติมอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดหรือ เหตุฉุกเฉินอื่น ๆ 2.) การศึกษาและการจ้างงาน; วัฒนธรรมของการเรียนรู้ตลอดชีวิตจะถูกเน้นเพื่อให้แน่ใจว่ามีโอกาสมากขึ้นสำหรับพนักงานที่มีอยู่ในการเพิ่มทักษะและทักษะเพื่อให้ทันกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ 3.) การเงินสาธารณะและการลงทุนในการศึกษา; อนุมัติการเพิ่มเงินอุดหนุนต่อหัวตามความจำเป็นพื้นฐานที่เริ่มในปีงบประมาณ 2566 4.) การสอนการพัฒนาวิชาชีพ; ครูมีทักษะการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและมีความสามารถด้วยระบบการสนับสนุน 5.) การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล; ให้การเข้าถึงการศึกษาออนไลน์ฟรี ทั่วถึง และเท่าเทียม ผ่านแพลตฟอร์มโอเพ่นซอร์สภายใต้การดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง, ริเริ่มอย่างเป็นรูปธรรมเรียกร้องให้มีการดำเนินการ; 46 แคมเปญการแก้ปัญหา จัดโดยประเทศสมาชิกและพันธมิตร, ริเริ่มโครงการระดับโลก 6 โครงการ; 1.) Green Education: เตรียมความพร้อมให้แก่ผู้เรียนทุกคน 2.) เกตเวย์การเรียนรู้ดิจิตอลสาธารณะ 3.) ส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศและเด็กหญิงและเสริมพลังสตรี 4.) การแก้ไขปัญหาการศึกษาในสถานการณ์วิกฤต5.) การเรียนรู้ขั้นพื้นฐาน – การแก้ปัญหาวิกฤตการเรียนรู้ 6.) การเปลี่ยนแปลงทางการเงินเพื่อการศึกษา

  •           : การปฏิรูปการศึกษา: ความจำเป็นทางการเมืองเร่งด่วนสำหรับอนาคตส่วนรวมของเรา 1.) วิกฤตการณ์ในการศึกษาส่งผลกระทบต่อเราทุกคน 2.) ทบทวนวัตถุประสงค์และเนื้อหาของการศึกษาในศตวรรษที่ 21 3.) ปฏิรูประบบการศึกษาเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ที่สูงขึ้น และ 4.) ความเป็นผู้นำร่วม: การรักษาสัญญา

          การประชุมสุดยอดการศึกษาเพื่อการเปลี่ยนแปลง: การติดตามผล 4 หลัก; 1.) สนับสนุนพันธกรณีการปรึกษาหารือระดับชาติ เพื่อปฏิรูปการศึกษาระดับประเทศ และเร่งรัดผลสัมฤทธิ์ให้บรรลุเป้าหมาย SDG 4 2.) เปลี่ยนการสนับสนุนโครงการริเริ่มระดับโลกไปสู่การปฏิบัติและติดตาม 3.) อำนวยความสะดวกในการเจรจาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการจัดหาเงินทุนเพื่อการศึกษา และ 4.) การรักษาสถานภาพและการเคลื่อนไหวระดับโลกเพื่อการศึกษาเพื่อนำไปสู่และในการประชุมสุดยอดแห่งอนาคตในเดือนกันยายน พ.ศ. 2567

          สัญญาประชาคมการศึกษาฉบับใหม่ : 1.) ความรู้และการเรียนรู้เป็นพื้นฐานสำหรับการต่ออายุและการเปลี่ยนแปลง 2.) สัญญาทางสังคมฉบับใหม่เพื่อการศึกษาโดยเน้นที่วัตถุประสงค์สาธารณะของการศึกษาในการให้บริการส่วนรวม 3.) จำเป็นต้องขยายสิทธิในการศึกษาเพื่อให้มีอายุยืนยาวและครอบคลุมสิทธิในการเชื่อมต่อ 4.) ระบบการศึกษาต้องได้รับการเปลี่ยนแปลงให้มีความเท่าเทียม ครอบคลุม เกี่ยวข้อง และยืดหยุ่นมากขึ้น

          เมืองเป็นกุญแจสำคัญในการเปลี่ยนแปลงการศึกษาและการเรียนรู้ : กล่าวคือ เมืองมีความสามารถในการผลักดันนโยบายการศึกษาไปสู่การปฏิบัติ มีความสามารถรองรับโครงการการเรียนรู้ตลอดชีวิตของท้องถิ่นซึ่งเป็นส่วนสำคัญจากล่างขึ้นบนเปลี่ยนไปสู่วัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต อีกทั้งเมืองมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่สามารถเชื่อมโยงสถาบันการศึกษาและฝึกอบรมกับสถาบันทางวัฒนธรรม การมีส่วนร่วมของภาคีความร่วมมือที่หลากหลาย เช่น ตัวแทนภาคประชาชน ภาคประชาสังคม องค์กรและนายจ้าง และการสร้างสภาพแวดล้อมที่ทำให้ประชาชนสามารถเชื่อมโยงการเรียนรู้กับกิจกรรมในชีวิตประจำวัน และสร้างเส้นทางการเรียนรู้ของตนเอง

          เครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ทั่วโลกของยูเนสโก (GNLC) 294 เมืองใน 75 ประเทศ: โดยสมาชิกใหม่ในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก ในปี 2022 ประเทศไทยได้รับการประกาศเข้าร่วมเพิ่มถึง 3 เมือง ได้แก่ 1.) เมืองหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 2.) เมืองพะเยา จังหวัดพะเยา และ 3.) เมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย

          ปิดท้ายการบรรยายในช่วงเช้าด้วยการบรรยายในหัวข้อ“พะเยาเมืองแห่งการเรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น สู่ระดับโลก” โดย รศ.ดร.ผณินทรา ธีรานนท์ ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยพะเยา และเป็นหัวหน้าโครงการ Phayao Learning City อันมีสาระโดยสังเขป ดังนี้

          มหาวิทยาลัยพะเยา ร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา เทศบาลเมืองพะเยา และชุมชนพะเยา ขับเคลื่อนเมืองพะเยาให้เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตบนฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้างการเรียนรู้ สร้ายรายได้ สร้างความสุขให้คนพะเยาอย่างยั่งยืน ด้วยการสนับสนุนจากหน่วยบริหารจัดการทุนเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ (บพท.) เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา เมืองพะเยาได้รับการรับรองจากกองค์การยูเนสโกเข้าสู่การเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตของยูเนสโก (UNESCO Global Network of Learning Cities) อย่างเป็นทางการ ซึ่งถือเป็นความสำเร็จครั้งใหญ่ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยพะเยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา เทศบาลเมืองพะเยา ชุมชนพะเยา และหน่วยบริหารจัดการทุนเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ (บพท.) ซึ่งได้ร่วมกันผลักดันโครงการพัฒนาเมืองในมิติต่าง ๆ เพื่อยกระดับการเรียนรู้และกลไกทางเศรษฐกิจของเมืองให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนบนฐานของการใช้องค์ความรู้ท้องถิ่นและความร่วมมือในระดับพื้นที่เป็นตัวกลางขับเคลื่อนการพัฒนา สร้างรายได้ และความสุขให้กับคนพะเยาได้อย่างยั่งยืน การผลักดันให้เมืองพะเยาให้ได้รับการรับรองจากองค์การยูเนสโกอย่างเป็นทางการในครั้งนี้ ยังเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญต่อการปรับเปลี่ยนบทบาทของมหาวิทยาลัยในพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศไทย ที่จะต้องก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกลไกความร่วมมือในระดับพื้นที่ ทำงานร่วมกับหน่วยงานภาคีในท้องถิ่น และนำเอาองค์ความรู้ งานวิจัยและนวัตกรรมพร้อมใช้ของมหาวิทยาลัยที่มีอยู่ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจหรือแก้ไขปัญหาของพื้นที่ในบริบทต่าง ๆ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังเช่น กรณีของมหาวิทยาลัยพะเยาที่ได้ก้าวเข้าไปเป็นแกนนำสำคัญขับเคลื่อนโครงการ Phayao Learning City และผลักดันให้เมืองพะเยาสมัครเข้ารับการพิจารณาเพื่อเป็นภาคีเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตของยูเนสโก (UNESCO Global Network of Learning Cities)

          พะเยาเมืองแห่งการเรียนรู้ : มุ่งสู่ Creative City โดยการจัดตั้ง ศูนย์ 3 วัย 9 แห่ง ได้แก่ อำเภอเมืองพะเยา อำเภอดอกคำใต้ อำเภอเชียงม่วน อำเภอจุน อำเภอเชียงคำ และอำเภอภูซาง มีกลไกความร่วมมือกับ กรมราชทัณฑ์ กรมคุมประพฤติ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (สำนักงานส่วนภูมิภาคในจังหวัดพะเยา) องค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา เทศบาลเมืองพะเยา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา เขตรักษาพัน์สัตว์ป่าเวียงลอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ มีการจัดทำแผน Phoyao Learning Route คือ เส้นทางการเรียนรู้เพื่อสร้างเศรษฐกิจ สร้างสรรค์เขตเมืองพะเยา มีแหล่งเรียนรู้ 7 แห่ง ในบริเวณรอบกว๊านพะเยา ได้แก่ 1) แหล่งเรียนรู้: สวนจานใบไม้ศิริสุข ผลิตภัณฑ์: จานใบไม้และขนมแตงไทย 2) แหล่งเรียนรู้: สวนนนดา ผลิตภัณฑ์: สบู่สมุนไพร เค่า ไวน์ลูกหม่อนและไวน์มะขามป้อม 3) แหล่งเรียนรู้: ศูนย์ ศพอส. เทศบาลเมืองพะเยา ผลิตภัณฑ์: 14 ชุมชน สบู่สมุนไพร พวงกุญแจดอกทิวลิป กระเป๋าจากฝากระป๋อง ฯลฯ 4) แหล่งเรียนรู้: ริมกว๊าน อุทยานวิทยาศาสตร์ อบจ. TK Park เทศบาลเมืองพะเยา บ้านดิน กรีนรู๊ฟ 5) แหล่งเรียนรู้: สำหรับเด็กพิการ บ้านพี่ต๋อย ตำบลแม่ใส 6) แหล่งเรียนรู้: บ้านดินคำปู้จู้ ผลิตภัณฑ์: เครื่องปั้นดินเผา บ้านดิน อาหารสมุนไพร ย้อมผ้า และ 7) แหล่งเรียนรู้: วัดเมืองชุม ผลิตภัณฑ์: ผ้าด้นมือ พวงกุญแจดอกทิวลิป การ Upskill – Reskill – Newskill : Community and Technology (ท้องถิ่นกับเทคโนโลยี) ในหลักสูตร 30 ชั่วโมง 2 หน่วยกิต (Phayao Learning City for Life Long Learning Skills) 1) ทักษะล้มแล้วลุกได้เอง (Resilience) 2) ทักษะความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) 3) ทักษะยืดหยุ่นได้ทันการ (Agile) และ 4) ทักษะการคำนวณและสารสนเทศ (Calculation & Technology) อีกทั้งยังมีหลักสูตรเพิ่มเติม อาทิ หลักสูตรการใช้ชีวิตสร้างสรรค์ หลักสูตรท้องถิ่นกับเทคโนโลยี หลักสูตรนวัตกรรมเพื่อสังคม เป็นต้น จากที่กล่าวมาข้างต้น เป็นการประสานความร่วมมือในการผลักดันโครงการและแต่ละหน่วยงานมีหน้าที่ที่รับผิดชอบกันอย่างชัดเจน อาทิ อบจ. ตั้งกองการศึกษา เพื่อ Learning City, เทศบาลจัดตั้งศูนย์ OTOP เพื่อเป็นศูนย์การในการจำหน่ายสินค้า, เทศบาลร่วมกับ TK Park ในการจัดทำศูนย์การเรียนรู้ในพื้นที่วิวกว๊านพะเยา และมหาวิทยาลัยพะเยาจัดตั้งสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ UP Academy

          การได้รับการรับรองให้เป็นภาคีเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตของยูเนสโก (UNESCO Global Network of Learning Cities) นั้น นำมาซึ่งโอกาสในการยกระดับเพื่อพัฒนาต่อยอดเศรษฐกิจและการจัดการเมืองพะเยาในด้านต่าง ๆ อีกมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทาง เทคโนโลยี และเทคนิคในการพัฒนาเมืองจากกลุ่มผู้นำหรือผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเมืองระดับโลก รวมถึงโอกาสในการได้รับการสนับสนุนทุน องค์ความรู้ การแลกเปลี่ยนบุคลากร หรือการประสานความร่วมมือกับเมืองอื่น ๆ ในต่างประเทศเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการศึกษา ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาเมืองให้เติบโตได้อย่างรวดเร็ว และเป็นการพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต

          จังหวัดพะเยา ใช้หลักการขับเคลื่อน Phayao Learning City ด้วยแนวทาง UNESCO 4 ข้อ คือ 1) กลไกการบริหารเมืองแห่งกาเรียนรู้ร่วมกัน 2) ความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งเรียนรู้ 3) พะเยาไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และ 4) กาเรียนรู้จนยืนได้ด้วยตนเอง มีรายได้ สุขภาพกาย และสุขภาพใจ ที่มีคุณภาพ

          ประโยชน์ที่พะเยาจะได้รับ ภายหลังจากการได้รับการรับรองให้เป็นภาคีเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตของยูเนสโก (UNESCO Global Network of Learning Cities) คือ 1) การเข้าถึงข้อมูลกลยุทธ์การพัฒนาเมืองของประเทศต่าง ๆ 2) การเข้าถึงข้อมูลกลยุทธืการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต 3) การขัดการประชุมนานาชาติร่วมกับ UNESCO 4) การเข้าร่วมประชุมนานาชาติของ UNESCO 5) การเข้าประกวด Learning City Award และ 6) การเผยแพร่ข้อมูลการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตในพะเยาสู่นานาชาติบนเว็บไซต์ UNESCO GNLC

จากนั้นในภาคบ่ายเป็นการบรรยายพิเศษหัวข้อ : “การพัฒนาเมือง อดีต ปัจจุบัน อนาคต จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ” โดย รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา นายกสมาคมนักผังเมืองไทย Thailand Creative Cities คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โดย รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา ได้เล่าถึงการพัฒนาเมืองที่ผ่านมา 3 ยุค 3 กระบวนทัศน์แห่งกระบวนการพัฒนาเมือง อันได้แก่ ยุคที่ 1 คือนักวางผังเมืองวางแผนพัฒนาแบบเบ็ดเสร็จ ยุคที่ 2 คณะทำงาน (ผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ) เพื่อวางแผนพัฒนาเมือง และยุคที่ 3 ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นผู้วางแผนพัฒนาเมือง โดยความช่วยเหลือของผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เพื่อสร้าง “สมดุลบนความขัดแย้ง” ซึ่งในยุคสมัยก่อนคนส่วนใหญ่อยู่ในชนบท ผลิตอาหารเพื่อกินเองและผลิตของใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้มีชีวิตรอดและผ่านพ้นฤดูกาลต่าง ๆ ไปได้ แต่ปัจจุบันมีการย้ายถิ่นฐานมาอยู่อาศัยในเมืองมากขึ้น ทำให้เกิดความหนาแน่นสูงขึ้น จนเกิดของเสียและมลภาวะ ระบบการย่อยสลายจึงจัดการไม่ทัน การวางผังเมืองเพื่อจัดการระบบสาธารณูปโภคและการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน รองรับสุขอนามัยของคนเมืองจึงเป็นสิ่งที่ทุกยุคทุกสมัยต้องคำนึง และในการพัฒนาเมืองจำเป็นต้องอาศัยทรัพยากรอย่างมหาศาลมาเป็นต้นทุน ซึ่งจะมีผลที่ตามมา คือ เกิดภาวะขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ จึงมีความจำเป็นที่ต้องให้ความสำคัญกับการวางแผนพัฒนาเมืองบนพื้นฐานของความเข้าใจธรรมชาติมากขึ้น โดยการนำองค์ความรู้ทางความคิดและนวัตกรรมมาปรับใช้เพื่อรักษาสมดุลระหว่างการพัฒนาเมืองและธรรมชาติไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งเมื่อมีทรัพยากรอยู่อย่างจำกัด จึงจำเป็นที่จะต้องมีแผนเพื่อการวางแผนพัฒนาที่ดีได้ ซึ่งการวางแผน คือการกระทำอย่างเป็นระบบเพื่อคาดการณ์อนาคต จัดการและดำเนินการ โดยการตัดสินใจที่มีวัตถุประสงค์เป็นหลักในการอ้างอิง ดังนั้น การวางแผน จึงประกอบด้วย การศึกษาปรากฎการณ์หรือสภาพการณ์ในปัจจุบัน การคาดการณ์อนาคต การวางแผนเพื่ออนาคต

และสำหรับ “การพัฒนาเมือง” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนภาคและเมือง เป็นการวางแผนเชิงพื้นที่ที่มีทรัพยากรอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างขาดแคลน ไม่เพียงพอต่อความต้องการในการใช้งานอย่างอิสระ เสรีของประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียมจึงต้องมี การวางแผนการใช้สอยพื้นที่ เพื่อให้เกิดการจัดสรรทรัพยากร อย่างทั่วถึง เป็นธรรมและมีประสิทธิภาพ การวางแผนพัฒนาเมืองจึงเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ที่ต้อง ทำงานประสานร่วมมือกับภาคส่วนอื่นๆ เพื่อกำหนดทิศทาง การพัฒนาให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ กระบวนการวางแผนและจัดทำผังเมืองรวมในประเทศไทยที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันได้พยายามดำเนินการด้วยวิธีการแบบผังยุทธศาสตร์เป็นหลัก โดยเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการวางผังเมืองรวม               ตั้งแต่เริ่มต้นแต่การปฏิบัติจริง ยังขาดการเคารพและจัดสรรบทบาทหน้าที่ที่จะสร้างความสมดุลกับข้อจำกัดเชิงเทคนิคที่รัฐดูแลกับความเห็น/ความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเหมาะสม จึงมักเกิดความขัดแย้งตลอด กระบวนการวางแผนและจัดทำผังเมืองรวม ส่งผลให้เกิดการไม่ยอมรับผังเมืองรวมอยู่เสมอ ดังนั้น ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาเมือง คือ Mega Trend เช่น การเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศ สังคมผู้สูงอายุ ฯลฯ นโยบายโครงการภายนอกที่มีอิทธิพลต่อพื้นที่เมือง นโยบายโครง การภายในพื้นที่เมืองเอง สถานการณ์ที่เป็นอยู่จริงในพื้นที่เมือง ความเห็น ความต้องการ ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กระบวนการวางแผนเมืองที่ดี ต้องมีความสามารถ 3 ประการ คือ จะต้องทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม สามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้ จะต้องสามารถสื่อสารแผนให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งหมดเข้าใจได้โดยง่าย และจะต้องเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานจริงได้เป็นอย่างดี ไม่ใช่แค่เป็นแผนที่อยู่ในกระดาษเท่านั้น

บทบาทของรัฐและเอกชนในแผนการพัฒนาเมือง หน่วยงานภาครัฐ เป็นคนกำหนดและดำเนินนโยบาย จัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ได้มีหน้าที่ไปพัฒนาที่ดิน ส่วนภาคเอกชน/ประชาชน มีบทบาทในการเลือกผู้แทนที่มีนโยบายสอดคล้องกับตนเอง ดำเนินการพัฒนาตามแนวทางที่รัฐเพื่อชี้นำการพัฒนา กำหนดไว้ และจ่ายค่าใช้โครงสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจเอง และแผนและมาตรการในการพัฒนาเมือง มีเป้าหมายเพื่อตอบสนองความต้องการ “ในอนาคต” ซึ่งมีหลากหลายมิติ และหลากหลายวิธีการ มีทั้งมาตรการสนับสนุนสิ่งที่พึงประสงค์ และไม่สนับสนุน/ห้าม สิ่งที่ไม่พึงประสงค์ นโยบายและมาตรการแห่งอนาคต มีตัวชี้วัดและวัดผลในเชิงตัวเลขได้อย่างชัดเจน มีการตรวจสอบ ประเมินผล เพื่อปรับปรุงหรือยกเลิกได้ตามสถานการณ์ ผ่านการทดสอบ ทดลอง ก่อนที่จะลงทุนดำเนินการจริง มีความยืดหยุ่นสูง แปรผันไปตามความประสงค์ของบุคคล เวลา หรือปัจจัยอื่น การวางผังเมือง           ซึ่งมีสาระสำคัญในการควบคุมการใช้ประโยชน์ ที่ดินให้มีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงด้วยโครงข่ายการคมนาคมและขนส่งที่มีความเหมาะสมพอเพียงทางด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการที่สนับสนุนให้การใช้ประโยชน์ที่ดินนั้นๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ย่อมเป็นผลให้เมืองสามารถพัฒนาหรือดำรงบทบาทการเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและสังคม และถ่ายทอดความเจริญแก่เมืองในลำดับรองและพัฒนาพื้นที่ ชนบทโดยรอบ นอกจากนั้น การวางผังเมืองรวมในแง่ของการกำหนดทิศทางการเจริญเติบโตของเมืองให้เป็นไปอย่างเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และขีดความ สามารถในการรองรับของโครงสร้างพื้นฐาน จะมีผลต่อการอนุรักษ์บริเวณ พื้นที่ที่มีคุณค่าโดยการสร้างสรรค์ของมนุษย์ และบริเวณพื้นที่ที่มีคุณค่า ความงดงาม และความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อมให้ดำรงอยู่อย่างควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของเมือง

การผังเมืองในกระบวนการพัฒนาเมือง เป้าหมายการพัฒนาไม่ใช่ด้านกายภาพแต่มักจะเป็นเชิงเศรษฐกิจหรือสังคมเป็นหลัก การพัฒนาไม่ใช่การแก้ปัญหา แต่จะแก้ปัญหาก็ต่อเมื่อมันเป็นอุปสรรคในการไปสู่เป้าหมายมาตรการเชิงกฎหมายผังเมือง คือการเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนากิจการสาธารณะ หรือกึ่งสาธารณะ ผลักดันให้เกิด “ผังเมืองเฉพาะ” เพื่อชี้นำการพัฒนาและสร้างความเป็นธรรมอันเกิดจากการพัฒนา จัดตั้ง “บรรษัทพัฒนาเมือง” เพื่อสนับสนุนผังเมืองเฉพาะ และบริหารจัดการเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ และหันกลับมาบูรณะฟื้นฟูพื้นที่เมืองเดิมด้วยหลักการ Redevelopment and Rehabilitation ซึ่งการปรับปรุง โครงสร้างพื้นฐานสาธารณะเหล่านี้ให้เหมาะสมกับความต้องการ ของยุคสมัย เพื่อเป็นแรงดึงดูดต่อกิจกรรมต่าง ๆ ของเอกชนให้หันกลับมาสนใจในพื้นที่เมืองที่เคยเสื่อมโทรมอีกครั้ง

  และภายหลังการบรรยายเสร็จสิ้น รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ ผู้อำนวยการฝ่ายสนับสนุนทุนวิจัยนวัตกรรม โปรแกรมที่ 15 หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ได้กล่าวขอบคุณผู้เข้ารับการอบรม และกล่าวปิดท้ายถึงกิจกรรมปฎิบัติการเพื่อพัฒนาบนฐานของงานวิจัย ที่จะมีขึ้นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งจะร่วมภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และภาคประชาสังคม ในการผนึกกำลังทางความคิดและร่วมลงมือทำ เพื่อทำให้เกิดนวัตกรรมในการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม เพื่อนำไปสุ่การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างยังยืนต่อไปได้อย่างไร