พมส.ประชุมหารือการดำเนินโครงการวิจัยฯ กับเทศบาลที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน และด้านภัยพิบัติ

หลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) ประชุมหารือการดำเนินโครงการวิจัยฯ กับ 12 เทศบาลที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ 17 เทศบาล ด้านสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน และ 5 เทศบาลด้านภัยพิบัติ

หลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) ภายใต้โครงการการยกระดับการพัฒนาท้องถิ่นด้วยกลไกความรู้และความร่วมมือระดับประเทศ ของมูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) จัดประชุมหารือการดำเนินโครงการวิจัยฯ กับเทศบาลที่ได้รับทุน ด้านสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน และด้านภัยพิบัติ ในวันที่ 25 สิงหาคม 2566 ผ่านระบบ ZOOM MEETING อันมีคณะทำงานฯ จากหน่วย บพท. มูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น บริษัท AI & Robotics Ventures (ARV) โดยการประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดพื้นที่หารือการดำเนินโครงการวิจัยฯ ร่วมกับนักวิจัยในโครงการฯ ติดตามการส่งข้อมูลของแต่ละเทศบาลที่จะนำมาใช้ในการประมวลผล เกี่ยวกับผลลัพธ์แฟลตฟอร์มด้านระบบสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ ระบบโครงสร้างพื้นฐาน และระบบภัยพิบัติและ Dashboard ที่ทางเทศบาลจะได้รับหลังจากที่ส่งข้อมูลให้กับบริษัท AI & Robotics Ventures (ARV) ครบถ้วนตามบริบทของทางเทศบาลแล้ว พร้อมกับซักซ้อมความเข้าใจ ทบทวนเป้าหมาย และตอบประเด็นซักถามและข้อหารือในประเด็นต่าง ๆ

สาระโดยสังเขปในการหารือร่วมกันในครั้งนี้ รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ (ฝ่าย 3) ได้ซักซ้อมความเข้าใจและทบทวนเป้าหมาย และข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน และด้านภัยพิบัติ ว่าจำเป็นจะต้องใช้ข้อมูลด้านใดบ้าง ทั้งนี้ถ้าเทศบาลมีข้อมูลแล้วก็สามารถส่งให้กับบริษัท AI & Robotics Ventures (ARV) เพื่อเข้าสู่กระบวนการประมวลผล หรือหากไม่มีข้อมูลในด้านใด ทางเทศบาลสามารถวางแผนการเก็บข้อมูล โดยใช้ทุนได้ตามความเหมาะสม ด้าน ผศ.ดร.ฌาน เรืองธรรมสิงห์ ที่ปรึกษามูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ยังได้ให้ประเด็นเพิ่มเติมนอกจากการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ทุน ว่าสามารถนำมาใช้เพื่อเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนที่เทศบาลยังขาดอยู่หรือทำการแปลงข้อมูลที่มีอยู่จากกระดาษเป็นดิจิตอลได้ อนึ่ง หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) หลักสูตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) บริษัท AI & Robotics Ventures (ARV) เนื่องจากเทศบาลแต่ละแห่งมีบริบทที่ต่างกัน ยิ่งไปกว่านั้นในแพลตฟอร์มสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ โครงสร้างพื้นฐานอัจฉริยะ และภัยพิบัติอัจฉริยะนี้ ทางเทศบาลสามารถปรับเปลี่ยนหน้าตาของระบบ หรือองค์ประกอบได้ตามความต้องการ หรือสามารถส่งความต้องการการปรับปรุงแฟลตฟอร์มไปยังทาง AI & Robotics Ventures (ARV) โดยตรง เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบให้สอดคล้องกับความต้องการในทันที และในอนาคตแฟลตฟอร์มด้านสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน และด้านภัยพิบัติภายใต้ บพท.จะมีส่วนในการพัฒนาและพลิกโฉมเทศบาลให้เข้าสู่เทศบาลดิจิทัล และจะเป็นอีกส่วนที่จะกำหนดแนวทางการพัฒนาประเทศได้

สำหรับเทศบาลที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ จำนวน 12 เทศบาล ประกอบด้วย เทศบาลเมืองแม่โจ้ เทศบาลเมืองตราด เทศบาลเมืองสระบุรี เทศบาลตำบลคอนสวรรค์ เทศบาลตำบลบ้านเพชร เทศบาลตำบลเวียงเทิง เทศบาลตำบลหนองเสือ เทศบาลตำบลเกาะคา เทศบาลตำบลเกาะแต้ว เทศบาลตำบลคลองลานพัฒนา เทศบาลตำบลเมืองเก่า และเทศบาลตำบลศรีพนมมาศ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน จำนวน 17 เทศบาล ประกอบด้วย เทศบาลนครยะลา เทศบาลนครนครศรีธรรมราช เทศบาลนครนครสวรรค์ เทศบาลเมืองสนั่นรักษ์ เทศบาลเมืองมหาสารคาม เทศบาลตำบลหนองที่ เทศบาลตำบลละหานทราย เทศบาลเมืองสุพรรณบุรี เทศบาลเมืองกันตัง เทศบาลเมืองสะเดา เทศบาลตำบลท่าม่วง เทศบาลตำบลท่ายาง เทศบาลตำบลบ้านนา เทศบาลตำบลพระแท่น เทศบาลตำบลศรีดอนไผ่ เทศบาลตำบลห้วยเม็ก เทศบาลตำบลบ้านกลาง และด้านภัยพิบัติ จำนวน 5 เทศบาล ประกอบด้วย เทศบาลตำบลลำพญา เทศบาลนครปากเกร็ด เทศบาลเมืองปัตตานี เทศบาลเมืองเสนา เทศบาลตำบลแม่จัน