บพท. พมส. จับมือคณาจารย์จาก หน่วยวิจัยการแปลงเป็นดิจิทัลสำหรับอุตสาหกรรมเกษตรและธุรกิจ(DTRAB) มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ในการเป็นปรึกษาโครงการวิจัยทางวิชาการในการพัฒนาพื้นที่

บพท. พมส. จับมือคณาจารย์จากหลากหลายสาขาวิชา ในหน่วยวิจัยการแปลงเป็นดิจิทัลสำหรับอุตสาหกรรมเกษตรและธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ในการเป็นปรึกษาโครงการวิจัยทางวิชาการในการพัฒนาพื้นที่ ภายใต้โครงการการยกระดับการพัฒนาท้องถิ่นด้วยกลไกความรู้และความร่วมมือระดับประเทศ

วันที่ 26 กันยายน 2566 ผลจากความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างนักวิจัยโครงการการยกระดับการพัฒนาท้องถิ่นด้วยกลไกความรู้และความร่วมมือระดับประเทศ โดย ผศ.ดร.ฌาน เรืองธรรมสิงห์ ที่ปรึกษามูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กับคณาจารย์จากหลากหลายสาขาทั้งด้านการจัดการ logistic ดิจิทัลเทคโนโลยี เกษตร กฎหมาย จีนศึกษา แม่โขงล้านช้าง ของหน่วยวิจัยการแปลงเป็นดิจิทัลสำหรับอุตสาหกรรมเกษตรและธุรกิจมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ซึ่งมีทั้งนักศึกษาระดับตรี โท และเอก ซึ่งนำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สันติชัย วิชา อาจารย์ประจำสำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและ ดร. ดำรงพล คำแหงวงศ์ อาจารย์ประจำสำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร ได้เล็งเห็นว่าหน่วยวิจัยของตน ต่างมีพันธกิจ เป้าหมาย ความสนใจ และกิจกรรมทางวิชาการที่สอดคล้องตรงกัน จึงได้เข้าร่วมในความร่วมมือเพื่อเป็นปรึกษาโครงการวิจัยทางด้านวิชาการ ในการพัฒนาพื้นที่ภายใต้โครงการการยกระดับการพัฒนาท้องถิ่นด้วยกลไกความรู้และความร่วมมือระดับประเทศ ของมูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น อันมี นายอุดร ตันติสุนทร ผู้ก่อตั้งมูลนิธสิ่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย และได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ประจำปีงบประมาณ 2565 

ความร่วมมือในการเป็นที่ปรึกษาในครั้งนี้ ถือเป็นการเริ่มต้นความร่วมมือทางวิชาการของทั้ง 2 หน่วยงาน ที่ทั้ง 2 หน่วยงาน ที่มีวิสัยทัศน์และจุดร่วมที่ตรงกัน คือ ตระหนักถึง “Transdisciplinary in Action” โดยการทำงานร่วมกันระหว่างโครงการยกระดับการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ของมูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ร่วมกับ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย อันมีทั้งนักศึกษา ระดับตรี โท เอก ของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้า ร่วมลงมือปฏิบัติการ โดยไม่จำกัดว่า ศูนย์ปฏิบัติอยู่ในห้องเรียน หรือในมหาวิทยาลัย แต่กระจายอยู่ทั่วไปในพื้นที่ และมีเทศบาลนางแล แม่จัน เวียงเทิง เป็น living lab ทำงานร่วมกันระหว่างภาควิชาการ เอกชน และภาครัฐ ในลักษณะ Triple Helix Model พร้อมปรับบทบาทของภาควิชาการเป็นผู้หนุนเสริม ให้นักพัฒนา สร้างการเปลี่ยนแปลงโดยใช้ความรู้ ที่เกิดจากการลงมือปฏิบัติติการบนฐานงานวิจัย อนึ่งเป้าหมายการร่วมมือในการเป็นที่ปรึกษาในครั้งนี้ ทั้ง 2 หน่วยงาน มุ่งหวังผลที่ปฏิบัติได้และเกิดการสร้างคุณค่าใหม่เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน ขึ้นจริง โดยถือเป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของ โครงการการยกระดับการพัฒนาท้องถิ่นด้วยกลไกความรู้และความร่วมมือระดับประเทศ และหน่วยวิจัยการแปลงเป็นดิจิทัลสำหรับอุตสาหกรรมเกษตรและธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ในการสร้างและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการในการพัฒนาพื้นที่โดยภาคีเครือข่าย โดยทั้ง 2 หน่วยงาน ต่างมีความยินดีที่จะร่วมมือกันขับเคลื่อนความร่วมมือต่าง ๆให้บรรลุเป้าหมายร่วมกันต่อไป ด้าน รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ (ฝ่าย 3) บพท. ในฐานะสักขีพยานการลงนามได้กล่าวขอบคุณคณะทำงาน ที่พร้อมแสดงให้เห็นว่า มหาวิทยาลัย คือ โครงสร้างพื้นฐานความรู้ที่สำคัญในการพัฒนานวัตกรรมในการพัฒนาพื้นที่ และเชื่อมั่นในพลังทวีคูณที่เกิดขึ้น จากการประสานความร่วมมือกัน บนความไว้วางใจซึ่งกันและกัน