ปฏิบัติการพัฒนาเมือง ปฏิบัติการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่ หลักสูตร พมส.ครั้งที่ 7

มูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทยร่วมกับเครือข่าย บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด

มูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทยร่วมกับเครือข่าย บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด โดยได้รับการสนับสนุนทุนการวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ภายใต้แผนงานริเริ่มสําคัญ (FLAGSHIP) “การพัฒนาเมืองและกลไกการเติบโตใหม่” โปรแกรมที่ 15 เมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ จัดทําหลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) รุ่นที่ 1 เพื่อยกระดับการพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องด้วยกลไกความรู้และความร่วมมือ ระดับประเทศผ่านการปฏิบัติการบนฐานงานวิจัยในประเด็นปฏิบัติการ พัฒนาระบบและกลไกการนําข้อมูลมาสร้างมูลค่าและคุณค่า เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล และการพัฒนาองค์ความรู้และกลไกการเปลี่ยนแปลงองค์กรกระบวนการทํางานสู่ดิจิทัล อย่างเหมาะสม (Digital Economy and Digital Transformation) พัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวและเศรษฐกิจหมุนเวียน (Green Economy & BCG) พัฒนาเศรษฐกิจบนฐานของประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Economy) และ การพัฒนารายได้ใหม่และกลไกการเงินใหม่ สําหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Financial Mechanism & Special Purpose Vehicle) โดยมีกําหนดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเมือง : ปฏิบัติการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่ วันศุกร์ที่ 4-5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เวลา 08.00-21.00 น.

    การจัดอบรมในครั้งนี้ ได้มีพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือว่าด้วยการส่งเสริมโครงการหรือกิจกรรมด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่และแพลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมือง (City Digital Data Platform : CDDP) ระหว่าง บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จํากัด กับ สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล มูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

    ลำดับถัดไปเป็นการบรรยาย การออกแบบเชิงความคิดเพื่อเมืองที่น่าอยู่ Design Thinking for Liveable City โดย รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ หน่วยบริหารทุนและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ซึ่ง รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ  ได้กล่าวถึง Design Thinking ว่า  “การประสานความร่วมมือกัน ไม่ว่าจะทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ทั้งในเรื่องของข้อมูล เรื่องของคน เพื่อนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนของพวกเราในพื้นที่ เพราะนี่คือฐานความคิดในการออกแบบกรอบความคิดเพื่อเมืองที่น่าอยู่”

    ลำดับถัดไปเป็นการบรรยาย “Empathy” เข้าอกเข้าใจกัน พื้นฐานสําคัญของการพัฒนาเมือง โดย ดร.นนท์ อัครประเสริฐกุล สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) 

กล่าวว่า “เทคโนโลยีไม่ใช่เพียงการลงทุนซื้อเทคโนโลยี ต้องเข้าใจในพื้นฐานของความพร้อมทั้งในแง่ของอุปกรณ์ และความพร้อมของคนที่จะนำเทคโนโลยีไปใช้” โดยมีหัวข้อการบรรยายพอสังเขปดังนี้

1.การยกตัวอย่างเมือง Smart City อาทิ  India Korea Singapore Canada

ตัวอย่างเมืองแอดเบิร์ด เมืองอัจฉริยะ ที่ระบบการออกแบบเมือง ที่เทคโนโลยีทำงานแทนคน ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศ น้ำ การบริหารจัดการขยะ 

2. ขั้นตอนในการออกแบบเมือง

– Inspiration หาแรงบันดาลใจ 

– Ideation หาไอเดีย 

– Iteration ทดสอบทดลอง 

 3. Design Thinking  “กระบวนการคิดแบบนักออกแบบ”

– เปลี่ยนปัญหาเป็น คำถาม

– ใช้ผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง

– ข้อมูลและความคิดสร้างสรรค์

 – คิด ทดลอง ทำซ้ำ

     ลำดับถัดไปเป็นการบรรยาย การพัฒนาคุณค่าและนวัตกรรมที่แตกต่างของเทศบาล  (The Value Proposition Canvas for Local Government)

โดยนางสกุลรัตน์ เจริญพงศ์ หัวหน้าฝ่ายนักวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจ บริษัทเอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จํากัด  โดยมีหัวข้อการบรรยายพอสังเขปดังนี้

  1. การพัฒนาคุณค่าของบริการสารารณะ (Value Proposition) Value Propositions (VP) เป็นเครื่องมือแนว design thinking ที่จะช่วยให้เรา “ออกแบบ” หรือ “ปรับปรุง” การบริการสารารณะของเทศบาล ให้สามารถช่วยแก้ปัญหาและสร้างคุณค่าให้กับบริการและงานของเทศบาล สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. แผนภาพการพัฒนาคุณค่าของบริการสารารณะ (Value Proposition Canvas) เครื่องมือเพื่อช่วยออกแบบการพัฒนาคุณค่าของบริการสารารณะให้ตรงกับความต้องการของประชาชน (Citizen) หรือ สามารถแก้ปัญหาประชาชนได้อย่างตรงจุด เพื่อสร้างคุณค่าให้กับบริการของเทศบาล

    ต่อด้วยการ Workshop#1 “สิ่งที่ประชาชนคิด รู้สึก และต้องการ”  ในหัวข้อ ส่วนงานบริการสาธารณะของเทศบาล อาทิ กองช่าง กองคลัง กองสวัสดิการสังคม กองสาธารณสุขสิ่งแวดล้อม สำนักปลัดเทศบาลกองการศึกษา กองวิชาการและแผนงาน อันได้แก่

  • การทำความเข้าใจประชาชนว่าคิดอะไร รู้สึกอย่างไร ต้องการอะไร
  • บริการสาธารณะ
  • ปัญหาด้านต่างๆ เช่น ทรัพยากร เวลา ความผิดพลาด เทคโนโลยี ข้อมูลไม่เป็นหนึ่งเดียวกัน
  • สิ่งที่ต้องการ

    ลำดับถัดไปเป็นการบรรยาย บรรยายพิเศษหัวข้อ “โครงสร้างประเทศไทยกับการพัฒนาท้องถิ่น”

โดย ศาสตราจารย์ ดร. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ด้านกฎหมายและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ นโยบายกองทุนสนับสนุนการวิจัย โดยมีหัวข้อการบรรยายพอสังเขปดังนี้

1. การจัดทำประมวลกฎหมายท้องถิ่นแบบสมบูรณ์  อาทิ กฎหมายอำนาจหน้าที่  ที่ชัดเจนเพื่อจะเชื่อมโยงได้ว่าการทำบริการสาธารณะ มีหน่วยงานใดมีส่วนเกี่ยงข้องบ้าง ส่วนใดทำได้ส่วนใดทำไม่ได้บ้าง

2. ความสัมพันธ์ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น 

3. การถ่ายโอนการกระจายอำนาจ

และได้กล่าวปิดท้ายว่า “สันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศ  ซึ่งมีหน่วยงานที่เป็นเครือข่ายอยู่แล้ว การบริหารจัดการที่ควรจะเป็น สันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศจะต้องปรับบทบาทในการอำนาจหน้าที่ ผลักดันให้ความร่วมมือที่จะเป็นพลังในการประสานกับส่วนกลาง เพราะความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความสำคัญมาก”

    จากนั้น เป็นการ Workshop#2 “Data Solution เพื่อยกระดับเทศบาล: ยกระดับการบริหารจัดการ”

โดย บริษัทเอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด และ บพท.

แต่ละกลุ่มมีผลลัพธ์ของการดำเนินงานซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Value Proposition Canvas ดังต่อไปนี้

1) รายละเอียดของข้อมูลที่จะทำให้ประชาชนประทับใจ ที่ตอบโจทย์กับความต้องการประชาชน

2) รายละเอียดของข้อมูลที่จะทำให้สิ่งที่ประชาชนไม่ชอบ หรือปัญหาของเจ้าหน้าที่ที่ส่งผลต่อบริการประชาชนหมดไป

3) รายการของข้อมูลที่จำเป็นต้องมีเพื่อที่จะตอบโจทย์ความต้องการประชาชนในแต่ละรายการ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมี Value Proposition Canvas ที่ระบุถึงคุณค่าด้านข้อมูลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะให้บริการประชาชนเพื่อตอบสนองต่อความต้องการประชาชน

    และการ Workshop#3 “Urban Solutions ยกระดับเทศบาล เพื่อพัฒนารายได้ พัฒนาเศรษฐกิจ และพัฒนาบริการสาธารณะ”

โดย บริษัทเอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด และ บพท.

แต่ละกลุ่มมีผลลัพธ์ของการดำเนินงานซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Value Proposition Canvas ดังต่อไปนี้

1) คุณสมบัติของระบบและเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนและทำให้ประชาชนพึงพอใจแต่ละรายการสิ่งที่ประชาชนทำ

2) คุณสมบัติของระบบและเทคโนโลยีที่จะแก้ไขสิ่งที่ประชาชนไม่ชอบ และปัญหาของเจ้าหน้าที่

3) รายการระบบและเทคโนโลยีที่ตอบรับกับความต้องการของประชาชนและเจ้าหน้าที่

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมี Value Proposition Canvas ที่ระบุถึงคุณค่าด้านระบบและเทคโนโลยีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะให้บริการประชาชนเพื่อตอบสนองต่อความต้องการประชาชน

    ลำดับถัดไปเป็นการบรรยาย กระบวนการยกระดับเทศบาลไปสู่เทศบาลอัจฉริยะน่าอยู่ โดย นายวีรวัฒน์ รัตนวราหะ ผู้ประกอบการร่วมทุน บริษัทเอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จํากัด โดยมีหัวข้อการบรรยายพอสังเขปดังนี้

ปัจจัยสู่ความสำเร็จของ Digital Transformation 6 ประการต่อการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

1. กำหนดภารกิจให้สอดคล้องกับ พันธกิจของเทศบาล เพื่อให้เกิด Digital Transformation ในองค์กร

2. การออกแบบโครงสร้างบุคลากรในเทศบาลใหม่ให้เหมาะกับเทศบาล 4.0

3. การจัดหาบุคลากร/เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่มีความสามารถเพื่อสร้าง Change Agent

4. การลงทุนกับระบบบริหารงานท้องถิ่นที่ใช้ข้อมูล เทคโนโลยีและปัญญาประดิษฐ์

5. การขับเคลื่อนของผู้บริหารระดับสูง และเจ้าหน้าที่บริหารระดับกลาง

6. การติดตามความคืบหน้าเพื่อผลลัพธ์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิผล

    องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีแผนงาน (Roadmap) และแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ที่ชัดเจนสำหรับการดำเนินการยกระดับเทศบาลเป็นเทศบาลอัจฉริยะดังนั้นจึงสามารถจะพัฒนาทุกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทยเป็นเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ ที่มีการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยและชาญฉลาดเพื่อให้ประชาชนในเมืองมีคุณภาพชีวีตที่ดี มีความสุขอย่างยั่งยืน

         สำหรับกิจกรรมในวันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เวลา 09.00 – 13.00 น. ณ โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น เริ่มต้นด้วย การนำเสนอผลงานจากกิจกรรม Workshop ใน 3 หัวข้อ ที่ได้ระดมความคิดของแต่ละกลุ่มทั้ง 15 กลุ่ม ได้แก่ 1) “สิ่งที่ประชาชนคิด รู้สึก และต้องการ”  ในหัวข้อ ส่วนงานบริการสาธารณะของเทศบาล อาทิ กองช่าง กองคลัง กองสวัสดิการสังคม กองสาธารณสุขสิ่งแวดล้อม สำนักปลัดเทศบาลกองการศึกษา กองวิชาการและแผนงาน เป็นต้น 2) “Data Solution เพื่อยกระดับเทศบาล: ยกระดับการบริหารจัดการ” และ 3) “Urban Solutions ยกระดับเทศบาล เพื่อพัฒนารายได้ พัฒนาเศรษฐกิจ และพัฒนาบริการสาธารณะ” ทั้งนี้ การระดมความคิดร่วมกันของแต่ละกลุ่ม นับเป็นส่วนสำคัญอีกหนึ่งส่วนที่จะสามารถต่อยอดและนำไปพัฒนาท้องถิ่นของแต่ละพื้นที่ได้

          จากนั้นเป็นการบรรยาย “การสะท้อนผลจากแบบประเมินความพร้อมด้านดิจิทัลเบื้องต้น (DMA)” โดย
ดร. จักรพันธ์ จุละโพธิ บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ จำกัด โดยสาระส่วนหนึ่งของการบรรยาย คือ ปัจจัยสู่ความสำเร็จของ Digital Transformation และการประเมินความพร้อมด้านดิจิทัล (Digital Maturity Assessment: DMA) ได้แก่ 1) กลยุทธ์และวัตถุประสงค์และแผน
2) ศักยภาพบุคลากรและทักษะ 3) เทคโนโลยี 4) ข้อมูลดิจิทัล และ 5) ผลลัพธ์

  • ระดับความพร้อมด้านดิจิทัลของเทศบาล (Digital Maturity Scale) 5 หัวข้อ 5 ระดับ
  • ภาพรวม : ระดับความพร้อมด้านดิจิทัลของเทศบาล 1) ในภาพรวม ระดับความพร้อมด้านดิจิทัลของเทศบาลกลุ่มตัวอย่างอยุ๋ในกลุ่มของเทศบาลที่กำลังยกระดับ (ค่าเฉลี่ย 1.8) 2) ทางเทศบาลต่าง ๆ มีความก้าวหน้าที่ดีและกำลังก้าวไปสู่เทศบาลที่เตรียมพร้อมทางดิจิทัล (digitally emerging)
  • ข้อค้นพบสำคัญต่อการพัฒนาสู่เทศบาลอัจฉริยะเต็มรูปแบบ
  • การกำหนดแผนแม่บทและแผนการดำเนินงาน

        ต่อเนื่องด้วยการบรรยาย “Next Learning Step – ก้าวต่อไป” โดย รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ ผู้อำนวยการฝ่ายสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และคุณวีวัฒน์ รัตนวราหะ ผู้ประกอบการร่วมทุน บริษัทเอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนจอร์ โดยได้เล่าถึง การจัดทำแผนภาพการพัฒนาคุณค่าของบริการสาธารณะ (Value Proposition Canvas) ที่จะเป็นเครื่องมือเพื่อช่วยออกแบบการพัฒนาคุณค่าของบริการสาธารณะให้ตรงกับความต้องการของประชาชน (Citizen) เพื่อจัดทำ Action Plan ในลำดับถัดไป และการพัฒนาคุณค่าของบริการสาธารณะ (Value Proposition) เป็นเครื่องมือแนว Design Thinking ที่จะช่วยให้เราออกแบบหรือปรับปรุงการบริการสาธารณะของเทศบาล ให้สามารถช่วยแก้ปัญหาและสร้างคุณค่าให้กับบริการและงานของเทศบาลสามารถให้บริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

        และปิดท้ายการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเมือง : ปฏิบัติการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่ ครั้งที่ 7 ซึ่งครบกำหนดModule ที่ 1 ด้วยการมอบประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง หรือ พมส.รุ่นที่ 1 โดยมีนายกเทศมนตรี รองนายกฯ ปลัดเทศบาล และเจ้าหน้าที่ เข้ารับประกาศนียบัตรกว่า 200 คน โดย รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ ผู้อำนวยการฝ่ายสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) คุณวีวัฒน์ รัตนวราหะ ผู้ประกอบการร่วมทุน บริษัทเอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนจอร์ และนายสิงห์ทอง หนุนนำสิริสวัสดิ์ นายกเทศมนตรีตำบลเวียงเทิง จ.เชียงราย ประธานสันนิบาตจังหวัดภาคเหนือ เป็นผู้มอบประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) รุ่นที่ 1 ในครั้งนี้